0

ICT by 5/2

Posted by kru.fern on 22:57



0

ICT by 5/6

Posted by kru.fern on 19:24


0

ICT by 5/5

Posted by kru.fern on 23:55


0

ICT by 5/1

Posted by kru.fern on 19:29


0

ICT by 5/3

Posted by kru.fern on 18:34


0

ICT by 5/7

Posted by kru.fern on 18:35


0

แนวข้อสอบ ม.5

Posted by kru.fern on 18:51

อ่านเนื้อหาและสรุปแบบฝึกหัดของเพื่อน ๆ ม.5



0

สนุกกับเนื้อหาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย ม.5

Posted by kru.fern on 20:01
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สรุปโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7
บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ สรุปโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สรุปโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6
บทที่ 4 ระบบเครือข่ายและการสื่อสาร สรุปโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
บทที่ 5 อินเทอร์เน็ต สรุปโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5
บทที่ 6 หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ สรุปโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
บทที่ 7 การพัฒนาโปรแกรม สรุปโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3


อ่านข้อมูลของเพื่อน ๆ ม.5 ในบล็อกน่ารัก ๆ กันเลยจ๊ะ










0

กิจกรรมออนไลน์ ข้อมูล ตัวแปร ตัวดำเนินการ

Posted by kru.fern on 00:32



0

เอกสารข้อมูล ตัวแปร ตัวดำเนินการ

Posted by kru.fern on 00:31


0

ข้อมูล ตัวแปร และตัวดำเนินการ

Posted by kru.fern on 00:31

ข้อมูล ตัวแปร และตัวดำเนินการ

          จากตัวอย่างที่นักเรียนได้ฝึกเขียนโปรแกรมนั้น มีการใช้ข้อมูลในหลายรูปแบบ โดยที่ข้อมูลสามารถนำมาใช้คำนวณ และประมวลผล ซึ่งอยู่ในรูปของตัวแปรเพื่อเก็บค่าข้อมูล สามารถอธิบายได้ดังนี้

          ชนิดข้อมูล (Data Types)
-          Numeric    ข้อมูลที่มีค่าเป็นตัวเลข ทั้งจำนวนเต็ม และทศนิยม
-          String       ข้อมูลที่เป็นอักขระ และข้อความ
-          DateTime  ข้อมูลในรูปแบบวันเดือนปี เวลา
-          Boolean    ข้อมูลที่มีค่าเป็นจริง (True) หรือเป็นเท็จ (False)

ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม

ชนิดข้อมูล
หน่วยความจำ (byte)
ขอบเขตข้อมูล
byte
1
0 ถึง 255
sbyte
1
-128 ถึง 127
short
2
-32,768 ถึง 32,767
ushort
2
0 ถึง 65,535
int
4
-2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647
unit
4
0 ถึง 4,294,967,295
long
8
-9,223,372,036,854,755,808 ถึง 9,223,372,036,854,755,807
ulong
8
0 ถึง 18,446,744,073,709,551,615

          เมื่อต้องการระบุชนิดข้อมูลให้ชัดเจน สามารถเติมตัวอักษรต่อท้ายจำนวนเต็ม เพื่อให้คอมไพเลอร์สามารถจัดการกับชนิดข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ เช่น
-          Unit         เติมตัวอักษร U ต่อท้าย   ตัวอย่าง 12,345U  เป็นต้น
-          long         เติมตัวอักษร L ต่อท้าย    ตัวอย่าง  12,345L  เป็นต้น
-          ulong       เติมตัวอักษร UL ต่อท้าย  ตัวอย่าง  12,345UL  เป็นต้น

ข้อมูลชนิดจำนวนทศนิยม

ชนิดข้อมูล
หน่วยความจำ (byte)
ขอบเขตข้อมูล
float
4
-3.402823 X 1038   ถึง  3.402823 X 1038
double
8
-1.79769313486232 X 10308 ถึง 1.79769313486232 X 10308


          เมื่อต้องการอ้างอิงการใช้ 10 ยกกำลัง สามารถเขียนในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ใช้ตัว “E” หรือ “e” แทนได้ ตัวอย่าง
-          1.23E+4    หรือ     1.23e+4         หมายถึง          1.23 X 104      หรือเท่ากับ 12,300
-          1.23E-2     หรือ     1.23e-2          หมายถึง          1.23 X 10-2     หรือเท่ากับ 0.0123

ข้อมูลชนิดตัวเลข decimal
                -
มีหน่วยความจำขนาด 16 ไบต์ (byte)
                 -
เก็บค่าจำนวนเต็มได้ระหว่าง  -79,228,162,514,264,337,593,543,950,335 ถึง
                                                        79,228,162,514,264,337,593,543,950,335
                   และเก็บค่าทศนิยมได้ระหว่าง -7.9228162514264337593543950335 ถึง
                                                        7.9228162514264337593543950335
                   ซึ่งเก็บค่าทศนิยมได้ 28 ตำแหน่ง

ข้อมูลชนิดตรรกะ
          ข้อมูลชนิดตรรกะ หรือ bool ใช้เก็บข้อมูลด้านตรรกศาสตร์ คือ ค่าจริง (True) และค่าเท็จ (False)

ข้อมูลชนิดตัวอักษรและข้อความ

ชนิดข้อมูล
หน่วยความจำ (byte)
ขอบเขตข้อมูล
char
2
ตัวอักษรหนึ่งตัว เก็บแบบ Unicode
ใช้เครื่องหมาย Single Quote ครอบตัวอักษร
ตัวอย่าง ‘O’ ‘K’
string
ตามความยาวข้อความ
ข้อความ ตั้งแต่ 0 ถึง 231 (ประมาณสองพันล้านตัวอักษร)
ใช้เครื่องหมาย Double Quote ครอบข้อความ
ตัวอย่าง “My game by Visual C#” “ยินดีต้อนรับสู่เกมของเรา”


ข้อมูลชนิดวันเวลา

ชนิดข้อมูล
หน่วยความจำ (byte)
ขอบเขตข้อมูล
Date
8
วันเวลา ตั้งแต่ 00:00:00 ของวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.0
ถึง 23:59:59 ของวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.9999

ตัวแปร (Variable)
          ตัวแปร (Variable) เป็นการอ้างถึงข้อมูล ด้วยค่าของตัวแปร สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาที่โปรแกรมทำงาน ทั้งนี้ตัวแปรทุกตัวต้องถูกประกาศ ก่อนนำมาใช้ และต้องระบุชนิดข้อมูลที่จะใช้กับตัวแปร
          หลักการตั้งชื่อตัวแปร
          -  ต้องขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรเท่านั้น
          -  ตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ แตกต่างกัน (Case Sensitive)
          -  ควรตั้งชื่อให้สื่อความหมายและสามารถบอกชนิดของตัวแปรได้ด้วย เช่น intAge
          -  ตัวอักษรแรกของคำต่อไปใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ เช่น strFirstName
          -  ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Reserved Word)

คำสงวน
abstract                   as                 base             bool              break            byte
case                       catch            char              checked         class             const
continue                  decimal         default          delegate        do                double
else                        enum            event            explicit          extern           false
finally                     fixed             float              for                foreach         get
goto                       if                  implicit          in                 int                interface
internal                   is                 lock              long              namespace     new
null                        object           operator        out               override         params
partial                     private           protected       public            readonly        ref 
return                     sbyte            sealed           set               short             sizeof
stackalloc                static             string            struct            switch           this
throw                     true              try                typeof           uint              ulong
unchecked               unsafe           ushort           using             value            virtual
void                        volatile          where           while            yield            


          การประกาศตัวแปร
          ในภาษา Visual C# มีรูปแบบการประกาศตัวแปร ดังนี้


TypeOfVariable Variable_Name [= initialize_value];

          โดย     TypeOfVariable                   คือ      ชนิดข้อมูล ซึ่งต้องกำหนดทุกครั้ง
Variable_Name          คือ      ชื่อตัวแปร ซึ่งต้องกำหนดทุกครั้ง
initialize_value          คือ      ค่าที่กำหนดให้ตัวแปร กำหนดหรือไม่กำหนดก็ได้

ตัวดำเนินการ (Operator)
          ตัวดำเนินการมีหน้าที่ในการคำนวณหรือหาผลลัพธ์ที่เกิดจากการกระทำ ซึ่งแบ่งตามข้อมูลที่มีตัวดำเนินการคั่นกลาง (Operand) ได้ 3 ประเภท ได้แก่
          1.  Unary Operator     เป็นตัวดำเนินการที่ใช้ Operand เพียงตัวเดียว
          2.  Binary Operator     เป็นตัวดำเนินการที่ใช้ Operand สองตัว ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด
          3. Ternary Operator    เป็นตัวดำเนินการที่ใช้ Operand สามตัว

                        และแบ่งตัวดำเนินการตามรูปแบบการใช้งาน ได้ดังนี้

1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator) ได้แก่

ตัวดำเนินการ
คำอธิบาย
ตัวอย่างการนำไปใช้ เมื่อ a = 5, b = 3
ผลลัพธ์ที่ได้
+
บวก
a + b
8
-
ลบ
a – b
2
*
คูณ
a * b
15
/
หาร
a / b
1.67
%
หาเศษจากการหาร
a % b
2

          จากผลลัพธ์ที่ได้ สรุปหลักการทำงานของตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
          a + b            แทนค่า           5 + 3             ผลลัพธ์คือ        8
          a – b             แทนค่า           5 - 3             ผลลัพธ์คือ        2
          a * b             แทนค่า           5 * 3             ผลลัพธ์คือ        15
a / b             แทนค่า           5 / 3             ผลลัพธ์คือ        1.67
a % b            แทนค่า           5 / 3             ผลลัพธ์           2  (เศษที่ได้จากการหาร)

ถ้ามีการใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์มากกว่าหนึ่งตัว จะเรียงลำดับการดำเนินการ ดังนี้
ลำดับแรก คือ   (   )   ลำดับที่สอง คือ  *     /     %   และลำดับสุดท้าย คือ  +   และ  -


          2. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Comparison Operator) ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็น True หรือ False

ตัวดำเนินการ
คำอธิบาย
ตัวอย่างการนำไปใช้ เมื่อ a = 5, b = 3
ผลลัพธ์ที่ได้
= =
เท่ากับ
a = = b
False
! =
ไม่เท่ากับ
a ! = b
True
น้อยกว่า
a < b
False
< =
น้อยกว่า หรือเท่ากับ
a < = b
False
มากกว่า
a > b
True
> =
มากกว่า หรือเท่ากับ
a > = b
True
         
จากผลลัพธ์ที่ได้ สรุปหลักการทำงานของตัวดำเนินการเปรียบเทียบ ดังนี้
a = = b          ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จะเป็นจริงเมื่อ     a        เท่ากับ                     b
a ! = b           ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จะเป็นจริงเมื่อ     a        ไม่เท่ากับ                  b
a < b             ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จะเป็นจริงเมื่อ     a        น้อยกว่า                   b
a < = b          ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จะเป็นจริงเมื่อ     a        น้อยกว่าหรือเท่ากับ      b
a > b             ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จะเป็นจริงเมื่อ     a        มากกว่า                    b
a > = b          ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จะเป็นจริงเมื่อ     a        มากกว่าหรือเท่ากับ       b

          3. ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ (Logical Operator) ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็น True หรือ false เท่านั้น

ตัวดำเนินการ
คำอธิบาย
ตัวอย่างการนำไปใช้
เมื่อ a = True, b = False
ผลลัพธ์ที่ได้
!
นิเสธ (Negation)
!a
False
&&
และ (And)
a && b
False
| |
หรือ (Or)
a | | b
True
^
Exclusive Or
a ^ b
True
         
จากผลลัพธ์ที่ได้ สรุปหลักการทำงานของตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ ดังนี้
          !a             ผลลัพธ์ คือ นิเสธของ a
                                        
ซึ่งมีค่าความจริงตรงข้ามกับ a เมื่อ a เป็น True ผลลัพธ์จึงเป็น False

          a && b      ผลลัพธ์จะเป็นจริง เมื่อ a และ b ต่างเป็นจริง

          a | | b       ผลลัพธ์จะเป็นจริง เมื่อ a หรือ b เป็นจริง

          a ^ b       ผลลัพธ์จะเป็นจริง เมื่อ a กับ b มีค่าความจริงต่างกัน


          4. ตัวดำเนินการเพิ่มค่า และลดค่า ดังนี้
              ตัวดำเนินการเพิ่มค่าขึ้น 1 ค่า  คือ   + +     ตัวอย่าง   a + +   หมายถึง   a  =  a  +  1
              ตัวดำเนินการลดค่าลง   1 ค่า  คือ    - -      ตัวอย่าง   a - -     หมายถึง   a  =  a  -   1 

              ทั้งนี้การวางตำแหน่งของตัวดำเนินการมีความหมายต่างกัน
                           ถ้านำตัวดำเนินการไว้ด้านหน้า  เรียกว่า  Prefix                                             แต่ถ้านำตัวดำเนินการไว้ด้านหลัง  เรียกว่า  Postfix  ตัวอย่างเมื่อ   b = 10

              a  =  b + + เป็นการกำหนดค่าให้ตัวแปร a  ก่อนเพิ่มค่าให้ตัวแปร  b 
                             จะได้  a = b   แล้วจึง  b = b + 1
                             ผลลัพธ์ของ       a     คือ  10
                             ผลลัพธ์ของ       b     คือ  11

              a  =  + + b เป็นการเพิ่มค่าให้ตัวแปร  b  ก่อนการกำหนดค่าให้ตัวแปร a 
                             จะได้  b = b + 1 แล้วจึง  a = b   
                             ผลลัพธ์ของ       a     คือ  11
                             ผลลัพธ์ของ       b     คือ  11

              a  =  b - -  เป็นการกำหนดค่าให้ตัวแปร a  ก่อนลดค่าให้ตัวแปร  b 
                             จะได้  a = b   แล้วจึง  b = b 1
                             ผลลัพธ์ของ       a     คือ   10
                             ผลลัพธ์ของ       b     คือ    9

              a  =  - - b  เป็นการลดค่าให้ตัวแปร  b  ก่อนการกำหนดค่าให้ตัวแปร a 
                             จะได้  b = b - 1 แล้วจึง  a = b   
                             ผลลัพธ์ของ       a     คือ            9
                             ผลลัพธ์ของ       b     คือ  9


          5. ตัวดำเนินการกำหนดค่า เมื่อ a = 5 และ b = 3  ดังนี้
 
ตัวดำเนินการ
คำอธิบาย
ตัวอย่างการนำไปใช้
ผลลัพธ์ที่ได้
=
กำหนดค่า
a = b  เป็นการนำค่า b ให้ a
3
+ =
เพิ่มค่า แล้วกำหนดค่า
a + = b  มีค่าเท่ากับ a = a + b
8
- =
ลดค่า แล้วกำหนดค่า
a - = b มีค่าเท่ากับ a = a - b
2
* =
คูณ แล้วกำหนดค่า
a * = b มีค่าเท่ากับ a = a * b
15
/ =
หาร แล้วกำหนดค่า
a / = b มีค่าเท่ากับ a = a / b
1.67
% =
หาเศษจากการหาร แล้วกำหนดค่า
a % = b มีค่าเท่ากับ a = a % b
2

ถ้าเป็น String เครื่องหมาย + คือการนำ String 2 ค่ามาต่อกัน (Concatenate) เช่น  a + b  ผลลัพธ์คือ  ab

          การเขียนคำอธิบายโปรแกรม
          เมื่อต้องการเขียนคำอธิบายโปรแกรม สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
          1. คำอธิบายหนึ่งบรรทัด  ใช้เครื่องหมาย  //  นำหน้าข้อความที่ต้องการอธิบาย
          2. คำอธิบายมากกว่าหนึ่งบรรทัด  ใช้เครื่องหมาย  /*  นำหน้าข้อความ และปิดด้วยเครื่อง */


          การแปลงชนิดข้อมูล
      ในการทำงาน เราไม่สามารถนำข้อมูลต่างชนิดมาทำงานร่วมกันได้ จึงต้องทำการแปลงให้เป็นข้อมูล                   ชนิดเดียวกัน จึงสามารถทำได้ดังนี้

Method
หมายถึง
ตัวอย่างการใช้
int.Parse(ข้อความ);
แปลงข้อมูลชนิดตัวอักษร (String) ให้เป็นข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม (int)
a = int.Parse(textBox1.Text)  หมายถึง  แปลงข้อมูลชนิด String ที่รับจาก textBox1 เป็นข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็ม และเก็บค่าในตัวแปร a

b = int.Parse(“999”);  หมายถึง แปลงข้อมูลชนิด String “999” ให้เป็นตัวเลข 999 แล้วเก็บค่าในตัวแปร b
double.Parse(ข้อความ);
แปลงข้อมูลชนิดตัวอักษร (String) ให้เป็นข้อมูลตัวเลขทศนิยม (double)
c = double.Parse(textBox1.Text); หมายถึง แปลงข้อมูล String ที่รับจาก textBox1 เป็นข้อมูลตัวเลขทศนิยม และเก็บค่าในตัวแปร c

d = double.Parse(“99.99”); หมายถึง แปลงข้อมูล String “99.99” เป็นตัวเลขทศนิยม 99.99 แล้วเก็บค่าในตัวแปร d
ToString();
แปลงชนิดข้อมูลให้เป็นชนิดตัวอักษร (String)
int e = 50;
textBox1.Text = e.ToString();  หมายถึง  แปลงชนิดข้อมูล int ซึ่งคือตัวเลข 50 ให้เป็นข้อมูลชนิดตัวอักษร (String) แล้วแสดงผลใน textBox1 เนื่องจาก textbox สามารถแสดงผลเฉพาะข้อมูลชนิดตัวอักษร (String) เท่านั้น
DateTime.Now.Tostring();
แปลงข้อมูลชนิดวันเวลา (DateTime) ให้เป็นชนิดตัวอักษร (String)
f = DateTime.Now.ToString();  หมายถึง  แปลงข้อมูลวันเวลาปัจจุบันให้เป็นข้อมูลชนิดตัวอักษร แล้วเก็บค่าในตัวแปร f




Copyright © 2009 Information Technology I M.5 by kruFern All rights reserved. Theme by Laptop Geek. | Bloggerized by FalconHive.